วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

เปรียบเทียบบทความ
ความแตกต่างระหว่างสีผสมอาหารสังเคราะห์เคมีกับสีผสมอาหารที่ได้จากธรรมชาติ
สีผสมอาหารสังเคราะห์เคมี
- มีโทษมากกว่าประโยชน์ โทษของสีผสมอาหารสังเคราะห์เคมี ตัวอย่างเช่น
1. อันตรายจากตัวของสีสังเคราะห์เองจะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้ทำให้น้ำย่อยอาหารออกมาไม่สะดวก อาหารย่อยยาก เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขัดขวาง การดูดซึมอาหาร ทำให้ท้องเดิน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย อาจมีอาการ ของตับและไตอักเสบ ซึ่งจะเป็นสาเหตุ ของโรคมะเร็ง
2. อันตรายจากสารอื่นที่ปะปนมา ได้แก่โลหะหนักต่างๆ เช่น แคดเมียม  ตะกั่ว สารหนู ปรอท เนื่องจากแยกสารออกไม่หมด ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสีทาบ้านและสีย้อมผ้า ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ เช่น  พิษจากสารหนูนั้นเมื่อเข้าไปในร่างกาย จะสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ตับและไต จะเกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดความผิดปกติของระบบ ทางเดินอาหาร โลหิตจาง และหากได้รับสารหนูปริมาณมากในครั้งเดียวจะเกิดพิษต่อร่างกายทันที โดยปากแลโพรงจมูกไหม้เกรียมแห้ง ทางเดินอาหารผิดปกติ กล้ามเนื้อเกร็ง  เพ้อคลั่ง และยังอาจมีอาการหน้าบวม หนังตาบวมด้วย ส่วนตะกั่วนั้นจะมีพิษต่อระบบประสาททั้งแบบ เฉียบพลันและเรื้อรัง อาจทำให้ถึงกับชีวิตใน1-2วัน ส่วนอาการมีพิษเรื้อรังนั้นจะพบเส้นตะกั่วสีม่วงคล้ำที่เหงือก มือตก เท้าตก เป็นอัมพาต เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอาจพบอาการทางระบบประสาทได้
- มีประโยชน์เพียงแค่ช่วยให้อาหารมีสีสันสดใสดูน่ารับประทาน เพื่อดึงดูดเด็กๆให้ซื้อหา ซึ่งเป็นเพียงแค่ประโยชน์กับตัวผู้ผลิตเท่านั้น

สีผสมอาหารที่ได้จากธรรมชาติ
- ช่วยให้อาหารมีสีสันดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
- ไม่มีโทษเพราะผลิตขึ้นจากธรรมชาติ อีกทั้งยังมีประโยชน์ที่ได้มาจากสีในผักผลไม้ ตัวอย่างเช่น
                สารสีแดง จากแตงโม มะเขือเทศ ชื่อสาร Cycopene และสารสีแดงจากทับทิมและแคนเบอร์รี่ ชื่อสารBetacycin ทั้งสองอย่างนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด

                สารสีม่วง จากพืชสีม่วงจะมีสารแอนโทไซยานิน(Anthocyanin) เช่นในดอกอัญชัน กะหล่ำม่วงผิวชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง แบล็คเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสารตัวนี้ช่วย ลบล้างสารที่ก่อมะเร็งและยังออกฤทธิ์ทางขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และอัมพาตด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น