วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดอาหารที่มีการจำกัดการใช้สีไว้ 3 ประเภท ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2525) ดังนี้

1. อาหารห้ามใส่สีผสมทุกชนิด (ไม่ว่าจะเป็นสีธรรมชาติ หรือีสังเคราะห์ผสมอาหารก็ตาม) มี 14 ชนิด คือ อาหารทารก นมดัดแปลงสำหรับทารก อาหารเสริมสำหรับเด็ก เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงแต่งและทำให้เค็ม หรือหวาน เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงแต่งรมควันทำให้แห้ง ผลไม้สด ผลไม้ดอง ผักดอง แหนม กุนเชียง ไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ ทอดมัน ข้าวเกรียบ กะปิ และเนื้อสัตว์สดทุกชนิด ยกเว้นไก่สด
2. อาหารที่ใช้ได้เฉพาะสีจากขมิ้น หรือผงกะหรี่ มี 1 ชนิด คือ เนื้อไก่สด
3. อาหารที่ห้ามใช้สีผสมทุกชนิด ยกเว้นสีที่ได้จากธรรมชาติ มี 3 ชนิด คือ เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ย่าง อบ หรือทอด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นบะหมี่ แผ่นเกี๊ยว หมี่ซั่ว สปาเก็ตตี้ มักกะโรนี และน้ำพริกแกง

วัตถุประสงค์ของการใช้สีผสมอาหาร
1. เพื่อแต่งสีผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีสี ได้แก่ เครื่องดื่มหรือเครื่องดื่มผง ลูกกวาด ไอศกรีม แยม เยลลี่ และอาหารว่าง เพื่อให้มีสีเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภค
2. เพื่อแต่งสีผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอาจสูญเสียหรือเปลี่ยนไปมากในระหว่าง กระบวนการผลิตหรือการเก็บรักษา ได้แก่ การใช้สีผสมอาหารเพื่อช่วยแต่งสีของ เบียร์ วิสกี้ น้ำเชื่อม และอาหารอบ
3. เพื่อแต่งสีผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสีธรรมชาติแปรเปลี่ยนตามฤดูกาลและ สภาพภูมิอากาศ เช่น การใช้สีผสมอาหารแต่งสีนม ซึ่งปกติมักมีสีแตกต่างกันมาก ขึ้นกับฤดูกาล โดยนมในฤดูร้อนมักมีสีเหลืองเข้มกว่านมในฤดูหนาว เนื่องมาจากปริมาณเบตาแคโรทีนในหญ้าที่วัวบริโภคในฤดูร้อนมากกว่าในฤดูหนาว เพื่อให้ อาหารที่ผลิตออกมามีสีคงที่ตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ เพื่อมิให้ผู้ซื้อเกิด ความเข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพของอาหารที่ผลิตขึ้นมา
ทั้งนี้อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การเติมสีในอาหารก็เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นที่จดจำและมีลักษณะที่ดีที่ผู้บริโภคต้องการและยอมรับ
การใช้สีผสมอาหารในการผลิตอาหารจึงได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ในแง่ความปลอดภัยของสีต่อการบริโภค การใช้สีผสมอาหารต้อง เลือกสีผสมอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและใช้ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตราย ต่อผู้บริโภคโดยสีผสมอาหารควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือไม่ทำให้สมบัติเปลี่ยน ไปในทางเลวลง มีความอยู่ตัวในอาหาร ไม่เกิดปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อาหาร และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ง่ายต่อการใช้ในผลิตภัณฑ์ ราคาถูก และให้ความเข้มข้น ของสีสูง ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดสีผสมอาหาร เป็นอาหารควบคุมเฉพาะ ชนิดของสีผสมอาหารแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ

ประเภทของสีผสมอาหาร
แบ่งเป็น2พวกใหญ่ๆคือ

1.สีสังเคราะห์
หมายถึง สีอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ซึ่งมีลักษณะถูกต้อง ตามข้อกำหนดและปลอดภัยต่อการบริโภค
ชนิดสีสังเคราะห์ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร มี 9 สี คือ
1. ประเภทสีแดงมี 3 สี ได้แก่
     1.1 ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R)
     1.2 คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine)
     1.3 เออร์โธรซีน (Erythrosine)
2. ประเภทสีเหลือง มี 3 สี ได้แก่
     2.1 ตาร์ตราซีน (Tartrazine)
     2.2 ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (Sunset Yellow F C F)
     2.3 ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)
 3. ประเภทสีเขียว มี 1 สี ได้แก่
     3.1 ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (Fast Green F C F)
4. ประเภทสีน้ำเงิน มี 2 สี ได้แก่
     4.1 อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน (Indigocarmine or Indigotine)
     4.2 บริลเลียนท์ บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (Brilliant Elue F C F)

2.สีธรรมชาติ
หมายถึง สีที่ได้มาจากการสังเคราะห์หรือสกัดจาก วัตถุดิบธรรมชาติ โดยผ่านการวิเคราะห์เรื่องส่วนประกอบ กรรมวิธีการผลิต ความบริสุทธิ์และอื่นๆ จนแน่ใจว่าปลอดภัยต่อการบริโภค ประเภทอาหาร ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้ได้เฉพาะสีธรรมชาติ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ทุกชนิดที่ปรุงแต่ง ย่าง อบ นึ่ง หรือทอด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นบะหมี่ แผ่นเกี๊ยว สปาเกตตี มะกะโรนี สีธรรมชาติหาได้ง่ายและบางอย่างมี กลิ่นหอมสามารถรับประทานได้โดยไม่จำกัดปริมาณ และไม่ต้องกลัวว่าจะเกิด การสะสมของสารพิษในร่างกาย
ตัวอย่างสีธรรมชาติ เช่น
-  สีน้ำตาล ได้จาก น้ำตาลไหม้ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทน้ำอัดลม เบียร์ อาหารอบ อาหารสัตว์ เป็นต้น และได้จากผงโกโก้ ใช้ผสมลงในของหวานเพื่อแต่งสี รส และใช้ราดหน้าขนม
- สีเขียว ได้จาก ใบเตยใช้แต่งสีขนม ใบคะน้าใช้แต่งสี เส้นบะหมี่
- สีแดง ได้จาก ครั่ง ข้าวแดง แป้งข้าวแดง ใช้แต่งสีเต้าหู้ยี้ ปลาจ่อมและปลาแป้งแดง กระเจี๊ยบให้สีแดงใช้ทำน้ำกระเจี๊ยบ แยม เยลลี น้ำหวานสีแดง
- สีดำ ได้จาก ถ่านกะลามะพร้าว ใช้ผสมในขนมเปียกปูน หรือได้จากผงถ่านจากการเผาพืช
- สีเหลือง ได้จาก ขมิ้นหรือหญ้าฝรั่น นิยมใส่ อาหารประเภทแกง ได้จากดอกคำฝอย ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการ
- สีเหลืองส้ม สีม่วง ได้จาก ถั่วดำใช้แต่งสีขนมหรือได้จากมันเลือดนก ใช้แต่งสีอาหาร เช่น ไอศกรีม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น